วันอังคารที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ชื่อแหล่งเรียนรู้ นวดแผนโบราณ อบยาสมุนไพรแผนโบราณ








ชื่อแหล่งเรียนรู้ นวดแผนโบราณ อบยาสมุนไพรแผนโบราณ
 ที่ตั้ง  หน้าวัดพระธาตุจอมปิง  ตั้งอยู่หมู่ที่ 8  บ้านพระธาตุจอมปิง ต.นาแก้ว อ.เกาะคา จ.ลำปาง
ประเภทแหล่งเรียนรู้  แหล่งฝึกอาชีพ  การนวดแผนไทย การอบสมุนไพร แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น เรื่องสมุนไพรในท้องถิ่นการรักษาโรคด้วยสมุนไพรโดยสื่อพื้นบ้าน
ความรู้ที่สามารถเรียนได้จากแหล่งเรียนรู้แห่งนี้
เรื่องพืชสมุนไพร
เรื่องการรักษาโรค
การพัฒนาสังคมและชุมชนให้ชุมชนเกิดการรักถิ่นเกิดของตนเองจากการร่วมกิจกรรมเรื่องสมุนไพรในท้องถิ่นโดยให้กลุ่มผู้สูงอายุสอนลูกหลายหรือเยาวชนที่อยากเรียนรู้เรื่องสมุนไพร
เนื้อหาสาระสำคัญในแหล่งเรียนรู้
นวดแผนโบราณ อบยาสมุนไพรแผนโบราณ
ตั้งอยู่ที่หน้าวัดพระธาตุจอมปิง  หมู่ 8 บ้านพระธาตุจอมปิง ตำบลนาแก้ว  กลุ่มนวดนั้นแต่ก่อน เริ่มมาจากกลุ่มผู้สูงอายุได้เป็นผู้ดำเนินการ และจัดตั้งกลุ่มสมุนไพรขึ้นมาก่อนและจากนั้นก็มีการ นวดเพื่อทำให้ครบวงจร ในการที่ผู้บริการมาใช้บริการ นวดจึงได้มีการตั้งกลุ่มนวดแผนไทยขึ้นมา และแต่ก่อนที่ตั้งของกลุ่มอยู่ในวัด จากนั้นมาได้มีการประชุมกลุ่มว่าควรจะมีที่ตั้งเป็นเอกเทศของตนเองจึง ได้มาอยู่ที่ ทำการอบต.เก่า เนื่องจาก อบต.ได้ย้ายออกไป และสามารถสร้างรายได้ให้กับกลุ่มผู้สูงอายุ และสำหรับคนที่ต้องการจะมาเรียนรู้ของเรื่องสมุนไพรให้กับกลุ่มเยาวชนและผู้ที่มีความสนใจเกี่ยวกับการนวดแผนโบราณ
การเดินทางนั้นใช้เส้นทางเดียวกันกับวัดพระธาตุลำปางหลวง แต่แยกซ้ายตรงที่ว่าการอำเภอหลังเก่าไปอีก 17 กิโลเมตร วัดพระธาตุจอมปิง เป็น กลุ่มนวดแผนโบราณ อบยาสมุนไพรแผนโบราณ จะอยู่ทางด้านซ้ายมือของวัดพระธาตุจอมปิง
นวดแผนโบราณ อบยาสมุนไพรแผนโบราณ นวดแผนไทย เป็นกระบวนการดูแลสุขภาพอย่างหนึ่ง โดยอาศัยการสัมผัสอย่างมีหลักการ ประกอบกับบรรยากาศที่ร่มรื่น เป็นธรรมชาติของสถานที่ ทั้งนี้สามารถแบ่งรูปแบบการนวดได้เป็นการนวดผ่อนคลาย เป็นการนวดที่ถูกสุขลักษณะตามแบบฉบับของแผนไทยโบราณ ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อร่างกาย และจิตใจ คือตั้งแต่ทำให้เกิดการไหลเวียนของเลือดลม คลายกล้ามเนื้อที่ตึงล้า รักษาอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย คลายเครียด เคล็ดขัดยอก ช่วยให้สุขภาพ กระปรี้กระเปร่า จิตใจผ่อนคลาย นวดจับเส้นการนวดเพื่อบำบัดอาการปวดเมื่อยเฉพาะจุด หรือตามข้อต่อ การยึดติดของพังผืดของร่างกายให้ทุเลาการอบตัวด้วยไอน้ำที่ได้จากการต้มสมุนไพร เป็นวิธีบำบัดรักษาอย่างหนึ่งซึ่งเริ่มต้นจากประสบการณ์ การนั่งกระโจมในหญิงหลังคลอด โดยใช้ผ้าทำเป็นกระโจม หรือนั่งในสุ่มไก่ที่ปิดคลุมไว้มิดชิด และมีหม้อต้มสมุนไพรซึ่งเดือดสามารถทำให้สามารถอบและสูดดมไอน้ำสมุนไพรได้ ผิวหนังได้สัมผัสไอน้ำด้วย ช่วยให้การไหลเวียนของโลหิตดีขึ้นทำให้ร่างกายสดชื่น ผิวพรรณเปล่งปลั่งมีน้ำมีนวล ต่อมาเป็นที่นิยมในหมู่ประชาชนทั่วไปสมุนไพรที่ใช้มี  2  ชนิด   ดังนี้  สมุนไพรสด     สมุนไพรแห้ง
ประโยชน์ของการอบสมุนไพร
ร่างกายมีการเผาผลาญอาหารเพิ่มขึ้นมีการขยายตัวของเส้นเลือดฝอย การไหลเวียนโลหิตดีขึ้น ขยายรูขุมขนบริเวณผิวหนัง บรรเทาอาการปวดเมื่อย  ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ
โรคหรืออาการที่สามารถบำบัดรักษาด้วยการอบสมุนไพร
 โรคภูมิแพ้  โรคหอบหืดที่อาการไม่รุนแรงเป็นหวัด  น้ำมูกไหล  แต่ไม่แห้งคัน  โรคที่ไม่ได้เป็นการเจ็บป่วยเฉพาะที่โรคอื่นๆ  ที่สามารถใช้การอบร่วมกับการรักษาแบบต่าง  เป็นการส่งเสริมสุขภาพ  และมารดาหลังคลอด

รหัสfacebook

รหัสfacebook<div id="fb-root"></div>
<script>(function(d, s, id) {
  var js, fjs = d.getElementsByTagName(s)[0];
  if (d.getElementById(id)) return;
  js = d.createElement(s); js.id = id;
  js.src = "//connect.facebook.net/th_TH/all.js#xfbml=1&appId=162817937165725";
  fjs.parentNode.insertBefore(js, fjs);
}(document, 'script', 'facebook-jssdk'));</script>
<div class="fb-comments" data-href="http://mediath2.blogspot.com/" data-num-posts="20" data-width="650"></div>

นักเรียนเป็นหัวใจของการศึกษา

 นักเรียนเป็นหัวใจของการศึกษา

“การศึกษาคือกระบวนการที่ทำให้คนและสังคมเจริญงอกงาม ยิ่งเรียนยิ่งขยัน ยิ่งเรียนยิ่งอดทน ยิ่งเรียนยิ่งซื่อสัตย์ ยิ่งเรียนยิ่งมีความกตัญญู ยิ่งเรียนยิ่งรักปู่ย่าตายาย ดูแลปู่ย่าตายาย ไปไหนก็ดูแลซึ่งกันและกัน บ้านเมืองก็จะมีแต่ความสุข”


เนื้อหาในส่วนนี้ได้รวบรวมสาระ แนวคิด บทความของท่าน ดร.โกวิท วรพิพัฒน์ ที่เป็นผู้ให้นิยาม คำว่า คิดเป็น"กระบวนการคิดเพื่อตัดสินใจ" โดยใช้ข้อมูล 3 ด้าน คือ ข้อมูลส่วนตัว ข้อมูลทาง สังคมหรือสิ่งแวดล้อม และข้อมูลทางวิชาการ ปรัชญา "คิดเป็น" มีรายละเอียดและสาระที่น่าศึกษา

นักเรียนเป็นหัวใจของการจัดการศึกษา

"เราสอนเด็กให้เป็นนักเรียนดีได้เราก็อิ่มเอิบใจ แต่จริงแล้วเราควรจะอิ่มเอิบใจไปกว่านั้นเหมือนเราปลูกต้นไทรแผ่ร่มเงา วันหนึ่งตอนเที่ยงเราออกไปยืนอยู่ใต้ต้นไทรของเราเพื่อพักร้อน เราก็ชื่นใจที่ร่มเงาของต้นไทรที่เราปลูกสามารถให้คนมาพักอาศัยได้ และคนที่มายืนอยู่ใต้ต้นไทรหรือนกกาคาบลูกไทรไปเป็นต้นไทร แผ่ร่มเงาให้คนได้อาศัยพักร่มเงาอีกต่อไป เหมือนกับเราทำความดี
มันจะกระเพื่อมออกไปอีกเรื่อยๆไม่มีวันจบสิ้น"

"เยาวชนกำลังมีไฟ กำลังมีแรง กำลังมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ กำลังต้องการจะมีส่วนร่วมในการพัฒนาครอบครัว และบ้านเมืองการให้เรียนแต่วิชาหนังสือ โดยไม่ให้ทำงานเป็นการ บอนไซเยาวชน"

การสอนที่ดีคือ ... การท้าทายให้เด็กกระเสือกกระสนหาความรู้ ครูไม่จำเป็นต้องเหนื่อยมากเหมือนสมัยก่อน ... ถ้าครูท้าทายเด็ก เช่น ถามว่าต้นไม้นี่มันแพร่พันธุ์ได้กี่วิธี วิธีอะไรบ้าง ทำอย่างไร โดยให้ ไปหาคำตอบ อาจจะไปหาความรู้จากห้องสมุด อาจจะไปทำจริงๆ อาจไปสังเกต ไปสอบถามความรู้ หากเด็กได้พยายามทำจริง ไปขวนขวายหาความรู้ให้ได้มา ความรู้นั้นจะซึมลึกอยู่ในตัว เป็นเลือดเป็นเนื้ออยู่ในตัว
เราก็เห็นใจ ครู ... เพราะค่านิยมของสังคมให้สอนวิชาหนังสือ เพื่อสอบเข้ามหาวิทยาลัยให้เรียนต่อได้ การถูกสอนอย่างนี้ทำให้นักเรียนรู้ผิวๆ นำไปใช้จริงได้ยาก"




ข้อมูลอ้างอิง   http://northnfe.blogspot.com/2012/07/blog-post_6932.html

ความคิดเ็ห็นจากfacebook